ไรเดอร์
ไรเดอร์44ปีที่แล้ว มีฮีโร่ตัวนึง
เป็นไรเดอร์V.6 มาดูอุปกรณ์จริงที่ใช้ในการเป็นไรเดอร์
แต่ละตัวมันจะมาจากสัตว์ แต่v1 มันไม่ใช่มด มันตคือตั๊กแตน V1มีแถบแขน2ขีด มันมาจากสัตว์ แล้ว V6 มันคือ กิ้งก่า+ปลาอมาซอน
จำได้ว่า v.4 มันแขนหลุด แล้ว มือก็เป็นแบบแขนกล ตะขอ แต่ตั้งแต่ v.4 ก็เริ่ม เป็น กึ่งคนกึ่งมนุษย์ ก็ v.6นี่แหล่ะ
ผมอยู่ราวๆV4 ที่รู้เรื่องอ่ะนะ v1.-v.3 จะเป็นรุ่นพี่ผม
ผมก็ดู v.2- v.3 v.1 ทันมั้ง แต่ดูไม่รู้เรื่อง รู้เรื่องอีกทีก็ v4 แล้ว ดูประจำ ผู้เฒ่าบาโก้ ผ่าตัดให้
เป็นคนแล้วจึงแปลงร่าง แบบ กึ่งคน ก็จะมีท่าแปลงร่างแบบ ไม่เหมือนใครดี
แล้วก็ไป v.5 v.6 v.7 แล้วก็หายไปพักใหญ่
แล้วก็เข้าสู่ยุคของ อาตาริ นินเทนโด้ เมกก้าไดร์ pc engine ช่วงนั้นก็เริ่มชอบอุปกรณ์พวกนั้น
ก็ไม่ค่อยดูการ์ตูน ไรเดอร์ มาดูพวก ดาร์กอนบอล ฟิโกโร่ เบจิต้า ช่วงนั้น เข้าสู่ 90s แล้ว
แต่ก็ดูบ้างไม่ดูบ้าง มันเป็น ฮีโร่ ที่ไม่ใหม่แล้วสำหรับเด็กรุ่น80S เพราะ nintendo มันมาตอน1987 ราวๆนั้น
เกมส์แรกก็จะเป็นพวก ลิง หรือ เกมส์ละครสัตว์ อะไรนี่แหล่ะ ไม่ใช่ มาริโอ้หรอก
ยุคของอนาล็อคคืออะไร?
จำได้ว่า โทรศัพท์ หมุนๆ มันไม่ค่อยมีใครใช้หรอก นอกจากพวก ราชการ หรือ ธุรกิจใหญ่ๆใช้กัน
แต่ที่บ้านก็มีใช้จนได้ เพราะต้องติดต่อลูกค้า ราชการ ของมันต้องมี แม่ผมก็ไปขอที่องค์การโทรศัพท์มา
ผมก็สนใจดิ อะไรวะ สื่อสารได้ เค้าจะเอาผ้าคลุม มีพรมรอง และ แบบ ใครอย่าไปแตะ 5555
มันเป็นของวิเศษ เด็กๆห้ามยุ่ง ใครดทรมาทีดีใจ มันไฮเทคมากเลย5555 แล้วก็ไม่คิดว่า
อีกไม่กี่ปี ก็จะมีโทรศัพท์แบบพกพาเดินไปไหนมาไหน ผมไม่ได้คิดเรื่องนั้น
แล้วอยู่ๆ ก็มีอุปกรณ์สื่อสารอีกตัวที่เข้ามาแทน
หลังจากที่โทรศัพท์ หมุนๆ เขียวๆนั้น เสร็จผมแคะแกะมาดูอุปรณ์
ภายในจน ผ่านไปหลายตัว และ พอจะเข้าใจลักษณะการทำงานของมัน
แบบอนาล็อก จนมาถึงรุ่นที่ทันสมัยกว่า อย่าง benefon
จำได้ว่าตัวนี้ แม่ผมซื้อมาเพื่อทำธุรกิจ ให้คนโทรศัพท์ สมัยนั้นค่าโทรไปเชียงใหม่
นาทีละ 38 บาทมั้ง โทรไปต่างประเทศ นาทีละ 186 ประมาณนั้น คนต่างชาติก็จะมา
พึ่งที่ร้านผมโทรไป หาญาติพี่น้อง รายได้ดีเลย 555 สิ้นเดือนมา ค่าโทรเป็นหมื่นๆ
มันผ่อนได้ด้วยนะ ตัวละ 115000บาท มั้ง ผ่อน 12 เดือน ก็เอากำไร จากค่าโทรแหล่ะมาผ่อน
แล้วจำได้ว่า ผมเอาไปติด รถ6ล้อ เสามันหัก ผมเอา ไม้แขวนเสื้อเสียบรู เสา แรงกว่าเสาเดิมอีกทีนี้
มันก็เลย เป็นที่มาของ การไปสอบ การสื่อสาร และ ก็สอบผ่าน เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
ที่ซอยสายลม สามารถ ตั้งสถานีเองได้ สามารถ ให้รถเป็นสถานีเคลื่อนที่ได้ ผมก็เลยสนใจพวก วิทยุสื่อสาร
วิทยุสื่อสาร กับ มือถือ อะไรจะอยู่อะไรจะไป? ในปี1995
จุดเริ่มต้นของการเรียนช่างของผม มันเริ่มมาจาก เทคโนโลยีอนาล็อคเก่าๆนั่นแหล่ะ
แล้ว ผมชอบเทคโนโลยี แล้ว ผมเข้าใจไปเองว่า ไฟฟ้า มันคือ เทคโนโลยี ก็เลยเรียนไฟฟ้า
แต่เทคโนโลยีมันคือ อิเลคโทรนิค แต่ก็กลายเป็น ไฟฟ้านั่นแหล่ะ คือ ต้นทางของ เทคโนโลยีทั้งมวล
ผมเลือกไม่ผิด เพราะถ้าผมไม่เรียนไฟฟ้า ผมจะไม่เข้าใจเรื่อง เทคโนโลยีอะไรเลย
ชุดkit พวกนี้ ถ้าเปรียบปัจจุบัน มันก็คือ plugin ตัวนึง
ที่อยู่ใน device นึง แค่นั้นเอง แล้วมันก็ย่อขนาดลงมาเรื่อยๆ
จนกลายเป็น IC ตัวเล็กๆตัวนึงเท่านั้น
หากเราเปรียบเทียบ เกมส์ตลับ ที่ครั้งหนึ่ง เราต้อง เดินทางไปสะพานเหล็ก
ใช้เวลาเป็นวันๆ เพื่อจะได้มันมา ถ้าเทียบสมัยนี้ ก็คือ 4 วิ เท่านั้น
ในปัจจุบัน แค่เปิดหน้าเว็บ ก็เล่นได้เลย เราเรียกว่า loading
วิทยุ ว. มันก็เลยกลายเป็น โทรศัพท์ แทน ตั้งแต่ยุค1995เป็นต้นมา
ผมจับมือถือแทบทุกยี่ห้อ รื้อแคะแกะเล่น เป็นของเล่น เพราะเพียง
ต้องการรู้การทำงานของมัน จนแม่ผมบอกว่า มุงจะซื้อทำนักโทรศัพท์
แต่ปัจจุบัน แม่ผมซื้อรุ่นล่าสุดเลย 5555 ก็เพราะมันคือ เครื่องมือทำเงินของคน 2021
แล้วไรเดอร์มันมาเกี่ยวอะไร?
ไรเดอร์สมัยนี้มันเป็นแบบน้ะอ่ะดิ เพราะเทคโนโลยีบนมือถือไง
ไรเดอร์คือ,ไรเดอร์สมัยก่อน,ไรเดอร์ปัจจุบัน,ไรเดอร์แบบไหน,ไรเดอร์คืออะไร,อาชีพไรเดอร์,ทำเงินผ่านแอพ,ไรเดอร์นิรนาม
ไรเดอร์คือ
ไรเดอร์แมน (ญี่ปุ่น: ライダーマン โรมาจิ: Raidāman) เป็นหนึ่งในตัวละครในละครโทรทัศน์แนว
โทะกุซะสึเรื่องคาเมนไรเดอร์ V3 ซึ่งเป็นหนึ่งในมาสค์ไรเดอร์ ซีรีส์ โดยไรเดอร์แมนจัดเป็นไรเดอร์คนที่ 4
และเป็นไรเดอร์คนแรกที่มีอาวุธประจำตัว
ไรเดอร์แมนเป็นตัวละครที่มีลักษณะเป็นตัวเอกปฏิลักษณ์ หรือ Antihero ที่เกี่ยวข้องกับความชั่วร้ายมาก่อน
โดยร่างมนุษย์ของเขาคือ ยูกิ โจจิ ซึ่งเคยเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ทำหน้าที่ทดลองและผลิตอาวุธให้กับองค์กรลับเดสตรอน
ปรากฏตัวครั้งแรกในคาเมนไรเดอร์ V3 ตอนที่ 43 (ออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 1973 ทางสถานีโทรทัศน์ทีวี อาซาฮี)
สำหรับบทบาทของไรเดอร์แมน และ ยูกิ โจจิ นำแสดงโดย ยามากูจิ ทาเคฮิสะ ซึ่งได้แสดงไว้ในคาเมนไรเดอร์ V3 เป็นครั้งแรก
จากนั้นได้เขาได้ร่วมแสดงในคาเมนไรเดอร์สตรองเกอร์ คาเมนไรเดอร์ (สกายไรเดอร์) และครั้งสุดท้ายในคาเมนไรเดอร์ ZX
หลังจากที่ยามากูจิ ทาเคฮิสะ ผู้แสดงเป็นยูกิ โจจิ และ ไรเดอร์แมนเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งปอด ในปี ค.ศ. 1986 บทบาทของไรเดอร์แมนในมาสค์ไรเดอร์ ซีรีส์ภาคต่อๆมา จึงไม่มีการปรากฏตัวในร่างมนุษย์หรือ ยูกิ โจจิ แต่จะเป็นการปรากฏตัวในชุดของไรเดอร์แมน และแสดงโดยสตันต์แมนแทน
ในปี ค.ศ. 2010 ยูกิ โจจิ ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องมาสค์ไรเดอร์ดีเคด ออลไรเดอร์ ปะทะ ไดช็อกเกอร์
โดยผู้ที่รับบทบาทเป็นยูกิ โจจิ ในภาพยนตร์เรื่องนี้คือแก๊กต์ คามุอิ นักร้องชื่อดัง
ที่เคยเป็นอดีตนักร้องนำของวงมาลิซ ไมเซอร์ อีกทั้งร่างของไรเดอร์แมนในภาพยนตร์เรื่องนี้ มีดีไซน์ใหม่ที่ต่างออกไป
จากเดิมทั้งชุด พาหนะ และอาวุธประจำตัว
ไรเดอร์สมัยก่อน
ค.ศ. 1971 – คาเมนไรเดอร์ (หรือ คาเมนไรเดอร์ V1และคาเมนไรเดอร์ V2)
ค.ศ. 1973 – คาเมนไรเดอร์ V3 และ ไรเดอร์แมน
ค.ศ. 1974 – คาเมนไรเดอร์ X
ค.ศ. 1974 – คาเมนไรเดอร์อาเมซอน
ค.ศ. 1975 – คาเมนไรเดอร์สตรองเกอร์
ค.ศ. 1979 – สกายไรเดอร์
ค.ศ. 1980 – คาเมนไรเดอร์ซูเปอร์-1
ค.ศ. 1987 – คาเมนไรเดอร์ ZX
ค.ศ. 1987 – คาเมนไรเดอร์ BLACK
ค.ศ. 1988 – คาเมนไรเดอร์ BLACK RX
ไรเดอร์ปัจจุบัน
ไรเดอร์แบบไหน
จะเป็นไรเดอร์ V อะไรเลือกเลยครับ ยังไงเราก็เป็นคน4.0 หาเงินได้มากกว่าเงินเดือนเสียอีก ลองซะ2021
ไรเดอร์คืออะไร
|
อาชีพไรเดอร์
‘รายได้ดี มีอิสระ ออกแบบการทำงานได้ด้วยตัวคุณเอง’ คือ 3 คียเวิร์ดหลักของอาชีพที่มาแรงที่สุดแห่งยุค
New normal อย่างอาชีพ ‘ไรเดอร์’ หรือ พนักงานรับส่งสินค้าด้วยรถจักรยานยนต์ จากจุดเริ่มต้นที่ใครหลายคนใช้
เป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้พิเศษ มาวันนี้ด้วยพิษเศรษฐกิจที่ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ซ้ำเติมไปด้วยการเข้ามาของโควิดดิสรัปชั่น
ส่งผลให้อาชีพไรเดอร์กลายมาเป็นอาชีพหลักของแรงงานยุค 2020
ถึงแม้ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลจำนวนไรเดอร์ที่แน่ชัด แต่จากยอดสั่งซื้ออาหารที่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงการระบาดของ
โรคโควิด-19 อาทิ ในเดือนมีนาคมและเมษายน ‘ไลน์แมน’ (LINE MAN) มียอดการสั่งอาหารสูงขึ้นถึง 300% ในส่วนของ
‘ฟู้ด แพนด้า’ (FOOD PANDA) เอง ก็มียอดสั่งอาหารเติบโตขึ้น 60% ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาเช่นกัน ในขณะที่
‘แกร็บ’ (GRAB) มียอดการเติบโตพุ่งไปถึง 400% หลังจากการออกมาตรการให้คนอยู่บ้าน ทั้งหมดที่ว่ามาล้วนเป็น
เครื่องพิสูจน์ชั้นดีถึงกระแสนิยมของอาชีพนี้
ดูๆ ไปแล้วอาชีพไรเดอร์ก็ฟังดูดีสมกับฉายาอาชีพแห่งอนาคต แต่เราก็อดไม่ได้ที่จะเกิดคำถามขึ้นมาว่า
ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับเหล่าไรเดอร์นั้นเป็นไปตามที่บอกไว้ข้างต้นจริงหรือ เพราะถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริง
ทำไมเราถึงยังเห็นเหล่าไรเดอร์ออกมารวมตัวประท้วงถึงค่ารอบที่ไม่เป็นธรรม หรือการออกมาระบายความในใจ
เนื่องจากโดนยกเลิกสินค้ากลางคัน ยังไม่นับเรื่องราวการถูกเลือกปฏิบัติจากร้านค้าต่างๆ
ที่เห็นได้บ่อยครั้งตามโซเชียลมีเดีย
เรื่องราวพวกนี้ยิ่งตอกย้ำถึงความจริงคนละม้วน แท้จริงแล้วเส้นทางชีวิตของอาชีพไรเดอร์เป็นอย่างไรกันคือสิ่งที่เราสงสัย
จะสวยงามหรือบิดเบี้ยวเส้นทางพวกนี้จำเป็นต้องถูกถอดรหัสออกมาให้ทุกคนได้รับรู้
Route 1 : สุขภาพที่บิดเบี้ยว
“ผมเคยขับนานที่สุด 48 ชั่วโมงโดยไม่นอน เพราะตอนนั้นต้องการใช้เงิน”
คือคำบอกเล่าแรกจาก บอย-พรเทพ ชัชวาลอมรกุล ไรเดอร์ประสบการณ์ 4 ปีที่ครั้งหนึ่งเคยวาดฝันว่าอาชีพไรเดอร์จะเป็น
อนาคตใหม่ของเขา บอยเริ่มต้นเส้นทางอาชีพไรเดอร์จากการขับหลังเลิกงานเพื่อเป็นรายได้เสริม แต่หลังจากที่ประเมินแล้วว่า
การเป็นไรเดอร์ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าแถมยังมีอิสระมากกว่าการทำงานประจำอย่างการเป็นพนักงานส่งเอกสาร
เขาจึงตัดสินใจลาออกและผันตัวมาเป็นไรเดอร์อย่างเต็มตัว
“ผมขับทุกวัน ไม่มีวันหยุด ปกติจะออกจากบ้านตั้งแต่ประมาณตี 5 ครึ่ง แล้วก็เปิดแอปฯ ขับมาเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 2 ทุ่ม
แล้วค่อยกลับเข้าบ้าน นอนสักสามสี่ชั่วโมง ตื่นมาอาบน้ำ แล้วออกมาใหม่”
ไรเดอร์วัย 43 ปีคนนี้เล่าให้ฟังถึงชีวิตประจำวันว่าเป็นเวลาเกือบ 15 ชั่วโมงที่เขาต้องใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนนที่เป็นเสมือน
สถานที่ทำงานและบ้านหลังที่ 2 เนื่องจากรายได้จากการทำงานไรเดอร์เป็นรายได้ที่ได้รับวันต่อวัน วันไหนคุณทำงานคุณได้เงิน
เมื่อไหร่ที่หยุดพักเท่ากับวันนั้นคุณขาดรายได้ ฉะนั้นต่อให้ความเจ็บปวดจากเอวจะร้าวไปถึงกลางหลัง
แต่ถ้าเปิดกระเป๋าออกมาแล้วไม่มีเงินน่ะสิดูท่าจะเจ็บปวดมากกว่า นี่เลยเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ไรเดอร์ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ
โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ไม่รู้จักแม้กระทั่งเวลาพักเที่ยง
“ไรเดอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้พักกินข้าวเที่ยงหรอกครับ เราจะได้กินก็ต่อเมื่อต้องรอคิวนานๆ ก็ไปหาซื้อข้าวร้านข้างๆ กินฆ่าเวลาเอา
หรือแบบผมก็จะซื้อข้าวเหนียวไก่ทอดข้างทางแขวนไว้หน้ารถแล้วกินบนนั้นเลย เพราะช่วงเวลาเที่ยงถือเป็นช่วงนาทีทองของเรา
เนื่องจากตรงกับช่วงเวลาที่พนักงานออฟฟิศจะพักกัน ซึ่งช่วงเวลานั้นจะได้ค่าเงินพิเศษเยอะด้วย”
ในมุมหนึ่งอาจจะมองได้ว่านี่ถือเป็นเทคนิคในการหารายได้ของไรเดอร์ แต่หากลองมองกลับกันถือเป็นเรื่องน่าเศร้าใจไม่น้อย
ที่การจะได้นั่งพักทานข้าวสักมื้อกลายเป็นเรื่องยากในการทำงานยุคปัจจุบัน แน่นอนว่าไรเดอร์มีอิสระที่จะเลือกหรือไม่เลือกทำงาน
ในช่วงเวลาใด แต่ในเมื่อพวกเขาต้องลงทุนทุกอย่างเท่าเดิม ลงแรงที่เท่ากัน แต่รายได้ที่ได้รับกลับต่างกัน
การจะปฎิเสธความหอมหวานตรงหน้าดูท่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ แม้จะต้องแลกมาด้วยปัญหาสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต
“สุขภาพมันก็มีพังกันบ้างแต่จะทำยังไงได้ สิ้นเดือนมันยังมีค่านู่นค่านี่ที่ต้องจ่าย ก็ต้องเหนื่อย ต้องยอม”
Route 2 : ความปลอดภัยที่บิดเบี้ยว
สุขภาพที่พังจากระบบการพักที่ไม่เป็นเวลาเป็นเพียงแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง อีกหนึ่งความบิดเบี้ยวที่ไรเดอร์ทุกคนจำเป็นต้องแบกรับ
อย่างเลี่ยงไม่ได้คือเรื่องอุบัติเหตุ จากความคิดที่ว่า ‘ยิ่งช้ายิ่งรายได้น้อย’ และประเด็นเรื่องจำนวนไรเดอร์ในระบบที่มีมากเกินความต้องการ
จึงส่งผลให้เหล่าไรเดอร์เลือกที่จะเบลอเรื่องความปลอดภัยเพราะไม่ว่ายังไงเรื่องปากท้องต้องมาก่อน
“ส่วนใหญ่ที่เกิดอุบัติเหตุเพราะไรเดอร์ต้องการทำรอบ คุณต้องเข้าใจว่าตอนนี้ค่ารอบที่ได้แต่ละรอบได้น้อยมาก
อย่างที่คุณเห็นเขานั่งรอชั่วโมงกว่า สองชั่วโมง แต่ได้ค่าส่งแค่รอบละสามสิบถึงสี่สิบบาท ฉะนั้นเขาเลยต้องบิด ต้องเร็ว
มันถึงเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา เพราะถ้าวันนี้คุณยิ่งช้าคุณก็ได้รายได้น้อย” บอยเล่าให้เราฟังถึงสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ
รายงานจากองค์กรอนามัยโลก ปี 2561 ได้เปิดเผยข้อมูลออกมาว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงสุด
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอัตรา 32.7 คน ต่อ 100,000 คน ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของผู้ใช้จักรยานยนต์อยู่ที่ 24.3 คน
ต่อ 100,000 คน ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตของผู้ใช้รถยนต์อยู่ที่ 4 คน ต่อ 100,000 คน จากตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า
ผู้ใช้รถจักรยานยนต์มีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าผู้ใช้รถยนต์ถึง 6 เท่า
บอยเล่าให้เราฟังเพิ่มเติมว่า ขณะนี้แพลตฟอร์มได้มีการเปิดรับสมัครไรเดอร์ทุกวัน มีจำนวนไรเดอร์ที่วิ่งงานอยู่ในระบบมากกว่าหนึ่งแสนคน
ไม่ใช่แค่จำนวนไรเดอร์ที่เพิ่มขึ้น แต่อีกหนึ่งกระแสที่กำลังเกิดขึ้นกับทุกแพลตฟอร์มคือการลดค่ารอบและลดค่าเงินพิเศษ
จากเดิมที่ไรเดอร์เคยได้ค่ารอบอยู่ที่เที่ยวละ 120 บาท ปัจจุบันเหลือเพียงแค่เที่ยวละ 40 บาท เมื่อจำนวนคนขับเพิ่มมากขึ้น
สวนทางกับค่าตอบแทนที่ลดน้อยลงจึงทำให้ไรเดอร์ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะต้องทำรอบให้ถี่ขึ้น วิ่งให้ไวขึ้น พร้อมๆ
โบกมือลาความปลอดภัยที่มีอยู่อย่างน้อยนิด
“เมื่อก่อนบริษัทยังไม่ใหญ่โตขนาดนี้ ยังให้ค่ารอบ ค่าเงินพิเศษเราดีเลย ตอนนี้บริษัทใหญ่โตมีกำไรแล้ว
แต่ทำไมค่าตัวเรากลับถูกลง ผมรู้ว่าตอนเปิดตัวใหม่ๆ ทุกคนต้องลงทุน ตอนนี้เป็นเวลาเอาคืน
แต่มันเป็นการเอาคืนที่เกินไปหรือเปล่า” บอยถามออกมาด้วยน้ำเสียงจริงจัง แววตาของเขาฉายชัดให้
เห็นถึงความคับข้องใจที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม
กรุงเทพมหานครฯ – วันที่ 23 มกราคม ปี พ.ศ. 2561 เวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง
ท้องฟ้าสีดำมืดสนิทช่วยขับสีแดงจากสัญญาณไฟจราจรให้เด่นชัดขึ้น ระหว่างรอสัญญาณไฟสีเขียว
ไรเดอร์ร่างท้วมอย่างบอยพร้อมผู้โดยสารสาวที่ซ้อนอยู่ด้านหลังถูกรถเก๋งพุ่งเข้าชนอย่างจังจนรถจักรยานยนต์เสียหลักคว่ำ
จากเหตุการณ์ในวันนั้นส่งผลให้บอยกระดูกสันหลังงอและต้องหยุดขับรถเป็นเวลาร่วม 2 เดือน
Route 3 : สวัสดิการที่บิดเบี้ยว
รายได้จากการเป็นไรเดอร์ของบอยเฉลี่ยตกอยู่ที่เดือนละ 30,000 บาท ช่วงระยะเวลา 2 เดือน ที่เขาต้องหยุดพักจึงมีค่าเท่ากับ
เวลากว่า 60 วันที่เขาจะต้องขาดรายได้ เงิน 60,000 บาทหายไปในพริบตา คำถามที่เกิดขึ้นในใจของเขา ณ เวลานั้นคือการ
ถามตัวเองว่าแล้วจะทำอย่างไรต่อดี เพราะถึงแม้รายรับจะหยุดชะงักลง แต่รายจ่ายที่พันผูกมาตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนรถ
และค่าโทรศัพท์มือถือไม่ได้หยุดตามและรอเวลาที่จะต้องไปชำระในทุกๆ เดือน เขาจะเอาเงินมาจากไหน
“ตอนนั้นบริษัทฯ ไม่ช่วยอะไรผมเลยครับ มีแค่พี่น้องในกลุ่มที่ช่วยกันรับบริจาคแล้วเอาเงินตรงนั้นมาช่วยเหลือผม
ค่ารักษาพยาบาลและค่าซ่อมรถผมก็ใช้สิทธิพ.ร.บ. จักรยานยนต์เบิกเอา เพราะแพลตฟอร์มจะช่วยก็ต่อเมื่อเกินจากสิทธิพ.ร.บ.
ซึ่งถ้าเกินจากพ.ร.บ. ของเรา ก็มีพ.ร.บ. ของคนที่ชนเราอีก ก็ไปเบิกจากทางนู้นเอา ตกลงแพลตฟอร์มไม่ช่วยอะไรเราสักบาท
ช่วยตัวเองครับ” บอยเล่าด้วยน้ำเสียงที่ยังคงเจือไว้ซึ่งความไม่พอใจแม้ว่าเหตุการณ์ในตอนนั้นจะผ่านมาเกือบ 2 ปีแล้วก็ตาม
อ้างอิงจาก ‘รายงานการศึกษาเรื่องรูปแบบงานใหม่ของคนขี่มอเตอร์ไซต์ส่งอาหารที่กำกับโดยแพลตฟอร์ม’ โดย
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร และ วรดุลย์ ตุลารักษ์ ได้แบ่งสวัสดิการที่ไรเดอร์จะได้รับจากแพลตฟอร์มออกเป็น 3 รูปแบบด้วยกัน
1. ในกรณีที่มีลักษณะงานเป็นอาชีพประจำกับแพลตฟอร์มเดียว จะได้รับการคุ้มครองประกันภัยอุบัติเหตุหลังจากทำงานเกินระยะเวลา
ที่กำหนด เช่น ต้องมีการทำงานขั้นต่ำเป็นระยะเวลา 6 เดือน
2. ในกรณีที่มีลักษณะงานเป็นอาชีพเสริม จะได้รับเงินชดเชนเป็นบางส่วน เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
3. ในกรณีที่ทำงานกับหลายแพลตฟอร์ม ไม่ได้รับสิทธิคนขับประจำ
กรณีของบอยอยู่ในกรณีที่ทำงานกับหลายแพลตฟอร์ม แต่เนื่องจากแพลตฟอร์มที่เขาทำงานด้วยนั้นมีการประชาสัมพันธ์ว่า
ทางบริษัทมีการจัดทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่คุ้มครองทั้งผู้โดยสารและคนขับในทุกการเดินทางและมีวงเงินคุ้มครองสูงสุดอยู่ที่
100,000 บาท สำหรับกรณีอุบัติเหตุ บอยจึงทำเรื่องเพื่อที่จะขอเรียกร้องเงินชดเชยแต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับการอนุมัติ
โดยทางแพลตฟอร์มได้ให้เหตุผลว่า กรณีของเขาไม่ตรงกับเงื่อนไขที่บริษัทแม่ในต่างประเทศกำหนดไว้ โดยที่ทางแพลตฟอร์ม
ไม่ได้มีการอธิบายเพิ่มเติมว่าเงื่อนไขที่ว่าคืออะไร
“สมมติว่ามี 20 เคส เชื่อไหมว่ามีแค่เคสเดียวที่ผ่าน อย่างคราวที่แล้วเป็นข่าว ไรเดอร์ตายได้แค่พวงหรีดพวงเดียว อีกคนมือหัก
หน้าแหก แต่ตอนนั้นเขากำลังรองานอยู่ ยังไม่ได้รับงาน คุณก็ไม่ให้สักบาท ผมถามหน่อยมีงานติดตัวคุณก็ไม่ช่วย
ไม่มีงานติดตัวคุณก็ไม่ช่วย แล้วตกลงคุณเอาอะไรเป็นบรรทัดฐาน” คือสิ่งที่ไรเดอร์วัย 43 ปีคนนี้สงสัย
‘แรงงานอิสระ’ หรือ ‘ลูกจ้างของแพลตฟอร์ม’ คือประเด็นที่กำลังเป็นข้อถกเถียงในแวดวงเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
เนื่องจากปัจจุบันมีการนิยามความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทแพลตฟอร์มและไรเดอร์ตามรูปแบบของสัญญาจ้างโดยสัญญาจ้างที่ใช้อยู่ใน
เวลานี้เป็นรูปแบบสัญญาจ้างทำของ ซึ่งถ้าเรายึดตามหลักเกณฑ์นี้ ไรเดอร์จะมีสถานะเป็นเพียงแรงงานรับจ้างอิสระ (freelance)
ไม่มีนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงทำให้พวกเขาไม่สามารถรับสิทธิตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
เรียกได้ว่าต่อให้ทำงานจนวินาทีสุดท้ายไรเดอร์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทแพลตฟอร์ม
หนึ่งกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจคือ กรณีของบริษัทเดลิเวอรู (Deliverroo) แพลตฟอร์มส่งอาหารแห่งหนึ่งในยุโรป
ที่ได้มีการอธิบายต่อศาลสเปนว่า ‘คนส่งอาหาร’ ของบริษัทเป็นเพียงคนทำงานอิสระ ไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท
เนื่องด้วยลักษณะงานที่ทำมีความยืดหยุ่นและควบคุมได้ตามความต้องการของแต่ละคน แต่ศาลประจำเมืองมาดริดก็คัดค้าน
คำอธิบายดังกล่าวและตัดสินให้คนส่งอาหารอยู่ในฐานะลูกจ้างของบริษัทโดยให้เหตุผลว่า “คนงานอยู่ภายใต้คำแนะนำที่
เฉพาะเจาะจงในการทำงาน ขาดอิสระในฐานะผู้ทำสัญญาอิสระ ซึ่งถือว่าอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ในการทำงานกับบริษัทเดลิเวอรู”
จากการตัดสินในครั้งนี้จึงส่งผลให้มีการกลับมาทบทวนถึงความคุ้มครองต่างๆ ที่คนส่งอาหารควรจะได้รับตามกฎหมาย เช่น
การคุ้มครองค่าจ้าง สิทธิประกันสังคม เป็นต้น
จากกรณีดังกล่าว ยิ่งทำให้เราควรจะต้องหันกลับมาตั้งคำถามถึงการนิยามความสัมพันธ์ระหว่างไรเดอร์และแพลตฟอร์ม
ว่าแท้จริงแล้วกฎหมายที่เรายึดใช้อยู่ทุกวันนี้เหมาะสมและยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายหรือไม่ หรือมีเพียงแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่
ได้ประโยชน์จากการนิยามเช่นนี้ สุดท้ายแล้วการจงใจปล่อยเบลอให้คลุมเครือเป็นความตั้งใจหรือแค่เรื่องบังเอิญ เป็นคำถามที่ควรจะได้รับคำตอบ
Route 4 : อำนาจต่อรองที่บิดเบี้ยว
‘หนุ่มแกร็บฟู้ดกุมขมับ ลูกค้ายกเลิกออเดอร์ เทค่าพิซซ่า เงินไม่ใช่น้อยๆ’ คือพาดหัวข่าวจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ฉบับหนึ่ง ในช่วงระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้ ภาพของไรเดอร์นั่งกุมขมับโดยมีอาหารกองโตรายล้อมเต็มสองข้างกายเนื่องจากถูกลูกค้ายกเลิกออเดอร์สินค้ากลางคันกลายเป็นภาพที่เราพบเห็นบ่อยขึ้นในโลกออนไลน์ นอกจากร่างกายที่ผุพัง สวัสดิการที่ไม่ชัดเจนราวกับถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่น PM 2.5 อีกหนึ่งภาระที่ไรเดอร์จำเป็นต้องแบกรับเพื่อแลกกับรายได้ในแต่ละเดือนคือการต้องอดทนยอมรับต่อการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
“อย่างเวลาลูกค้ากดยกเลิกสินค้า เราสามารถเอาสินค้าไปเคลมที่บริษัทได้แต่เงินที่เราออกไปก่อนไม่ได้เข้าบัญชีเลย
ต้องรอประมาณ 3-7 วัน สมมติผมมีทุนอยู่หนึ่งพันบาท แต่ซื้ออาหารไปให้ลูกค้าแล้วเจ็ดร้อยบาท ผมเหลือแค่สามร้อยบาท
ถามหน่อยว่าเงินแค่นั้นผมจะเอาไปทำอะไรได้”
บอยขยายความให้เราฟังถึงช่องโหว่ของกฎเคลมสินค้าที่ถึงแม้จะมีหลักวางไว้อย่างชัดเจน แต่ในแง่ของการทำงานจริงนั้นสุดท้าย
ก็ยังคงเป็นการผลักภาระให้ไรเดอร์ต้องหาทางรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง ถ้าระบบช่างไม่เป็นธรรมขนาดนี้
แต่ทำไมไรเดอร์หลายต่อหลายคนถึงยังยอมจำนนต่อระบบคือคำถามที่เราสนใจ
การจัดเกรดไรเดอร์ดูท่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่แห่งความยุ่งเหยิงนี้ เราพบว่าในหน้าโฮมเพจของไรเดอร์แต่ละคนจะมีการบอกระดับ
(Level) คล้ายๆ กันกับเวลาที่เราเล่นเกมออนไลน์ โดยข้อมูลที่จะนำมาใช้จัดอันดับไรเดอร์นั้นประมวลผลมาจากข้อมูล 3 ช่องทางด้วยกัน
คืออัตราการตอบรับหรือปฏิเสธงานของไรเดอร์, อัตราการยกเลิกงานหลังจากการตอบรับของไรเดอร์และการประเมินผลความพึงพอใจของลูกค้า
ซึ่งระดับของไรเดอร์ก็จะมีผลต่อการให้รางวัล การมอบหมายงานและการกำหนดบทลงโทษต่างๆ เรียกได้ว่ายิ่งระดับคุณสูงเท่าไห
ร่ สิทธิพิเศษที่จะตามมาก็จะยิ่งสูงตาม ในทางกลับกันถ้าคุณโดนว่าเยอะหรือปฏิเสธงานบ่อย ระดับของคุณก็พร้อมจะลดลงได้ทุกเมื่อ
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้แพลตฟอร์มสามารถสร้างสภาพบังคับเหนือกว่าไรเดอร์และกลายเป็นผู้ควบคุมไรเดอร์ได้โดยสมบูรณ์
ผ่านการควบคุมระบบอัลกอริทึ่ม พูดง่ายๆ ว่าแพลตฟอร์มกลายเป็นคนที่มีสิทธิขาดในการเลือกว่าจะจ่ายหรือไม่จ่ายงานให้กับใคร
จะให้หรือไม่ให้รางวัลกับใคร โดยที่ไรเดอร์ไม่สามารถลุกขึ้นประท้วงต่อการตัดสินของแพลตฟอร์มได้เลยเพราะถือเป็นการตัดสินที่
คำนวณมาจากระบบ เรียกได้ว่าชีวิตทั้งชีวิตของไรเดอร์ได้กลายเป็นชีวิตที่ผูกขาดกับระดับไปแล้ว
“อย่างมีคนมาชมเรา 92 คน แต่มีคนด่า 3 คน แอปฯ ปิดระบบไม่ให้วิ่งงานเลยนะ ผมเคยถามเขาว่าทำไมคุณฟังความข้างเดียว
แล้วอีก 92 คนที่ชมเราไม่มีความหมายเลยเหรอ ลูกค้าไม่ได้มีดี 100% แย่ๆ ก็มีเยอะ แต่บริษัทเขาไม่ฟังอะไรเราเลย แบนอย่างเดียว”
บอยยกตัวอย่างให้เราฟังถึงการประเมินผลของแพลตฟอร์มที่ยังมีความคลุมเครืออยู่สูงเมื่อเทียบกับบทลงโทษที่มีการลงโทษอย่างจริงจัง
นอกเหนือจากวิธีการจัดเกรดที่ยังไม่ชัดเจน อีกหนึ่งสิ่งที่กลายมาเป็นโซ่เส้นใหม่ที่จะผูกรัดชีวิตไรเดอร์เข้ากับแพลตฟอร์มคือ
การปล่อยสินเชื่อให้กับไรเดอร์ ในปี พ.ศ. 2562 มีธนาคารพาณิชย์มากกว่า 4 แห่งจับมือร่วมกันกับบริษัทแพลตฟอร์มเพื่อขยายฐานลูกค้าสินเชื่อ
โดยมีตั้งแต่การปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลตลอดไปจนถึงการปล่อยสินเชื่อเพื่อการบริโภคให้แก่เหล่าไรเดอร์ที่ได้รับการรับรองจากบริษัทแพลตฟอร์ม
แง่หนึ่งเราอาจกล่าวได้ว่านี่ถือเป็นการเปิดโอกาสให้แก่เหล่าไรเดอร์ได้มีสิทธิเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถเป็นทุน
ในการเปลี่ยนแปลงชีวิตพวกเขาได้แต่หากมองอีกแง่ นี่ถือเป็นอีกหนึ่งการกระทำที่จะยิ่งผูกขาดชีวิตของไรเดอร์ให้อยู่ภายใต้แพลตฟอร์ม
เพราะถ้าหากมีเงื่อนไขที่พันผูกไว้กับแพลตฟอร์มเยอะมากมายขนาดนี้ เหล่าไรเดอร์ดูจะไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องยอมทน
แม้จะรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่เป็นธรรม ก็เป็นหนี้กับเขาแล้ว ถ้าไม่ทำสิ่งนี้แล้วจะเอาเงินที่ไหนจ่าย
Route 5 : ทางออกของเส้นทางที่บิดเบี้ยว
ทั้ง 4 ความบิดเบี้ยวข้างต้นที่เกิดขึ้นกับไรเดอร์ดูเป็นปัญหาที่ไรเดอร์เพียงคนเดียวไม่สามารถแก้ไขได้ หนึ่งวิธีการที่คนตัวเล็กจะสามารถ
ลุกขึ้นมาสู้กับทุนใหญ่ได้คือการรวมตัวกัน เสียงตะโกนถึงความไม่เป็นธรรมของคนคนเดียวอาจจะไม่ดังพอที่จะทำให้ใครหันมามอง
แต่ถ้าหลายเสียงมารวมตัวกันมีความเป็นไปได้ว่าเสียงตะโกนนั้นอาจจะกลายเป็นเสียงกู่ร้องเพื่อทวงคืนความเป็นธรรมกลับมา
เหมือนอย่างที่ชาวแรงงานมีสหภาพแรงงาน แล้วจะเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะก่อตั้งสหภาพไรเดอร์ขึ้นมา
“มีหลายคนอยากให้ทำแต่ถามว่าถ้าทำจริงๆ แล้วใครจะเป็นหัวหน้า คนที่เป็นจะต้องหยุดงาน ขาดรายได้ ไม่ได้อะไรเลย
ถ้าอย่างสหภาพแรงงาน เขามีเงินเดือนให้อย่างนั้นก็น่าสนใจ แต่นี่ไม่มีอะไรเลย แล้วเราจะไปทำให้ตัวเองเหนื่อยทำไม
ทำแล้วไม่ได้อะไร มันไม่ใช่” บอยตอบกลับมาอย่างทันควันกับประเด็นในการจัดตั้งสหภาพไรเดอร์
ถึงแม้เขาจะเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและเป็นผู้ดูแลเพจ Grab สันทนาการ เพจที่เป็นเหมือนที่พักพิงของเหล่าไรเดอร์ในโลกออนไลน์
โดยในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 13,511 คน เรียกได้ว่าไม่ว่าเหล่าไรเดอร์จะเจอปัญหาอะไรก็สามารถแวะเข้ามาขอคำปรึกษาหรือ
ขอความช่วยเหลือได้ที่เพจ หรือหากกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บ ทางเพจก็จะมีการช่วยระดมทุนเพื่อหาเงินช่วยเหลือ
เพื่อนสมาชิกไรเดอร์ด้วยกัน บอยก็ยังคงยืนยันคำเดิมว่าการเกิดขึ้นของสหภาพไรเดอร์ไม่ใช่เรื่องง่าย
“ไรเดอร์ในกรุงเทพไม่เหมือนไรเดอร์ในต่างจังหวัด ไรเดอร์จังหวัดอื่นๆ เช่น ขอนแก่น โคราช ภูเก็ต เขามีกันแค่ร้อยกว่าคน
เวลาที่เขาออกมาเรียกร้องมันจึงทำได้ แต่กรุงเทพมีไรเดอร์เป็นแสน คนที่ออกไปเรียกร้องมีแค่พันคน ยังเหลืออีกเป็นหมื่นที่วิ่งอยู่
บริษัทก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ผมเคยเรียกร้องให้ทุกคนมารวมตัวกันแล้วแต่เขาไม่มากัน ทุกคนเอาแต่พูดกันว่าเรียกร้องไปก็ไม่ช่วยอะไร
ไปหาแดกดีกว่า ถามว่าไรเดอร์มารวมตัวกันสองพันคนนี่เยอะไหม เยอะนะ แต่ถ้าเทียบกับยังมีคนวิ่งอยู่เป็นแสน สองพันคนมันก็แค่ฝุ่นละออง”
คือสิ่งที่บอยทิ้งท้ายไว้ก่อนจากกัน
เมื่อเหล่าไรเดอร์ต่างทำสิ่งที่พวกเขาควรทำครบทุกเช็คลิสต์ แล้วอย่างนั้นหนทางที่จะแก้ไขเส้นทางที่บิดเบี้ยวนี้คืออะไร
แล้วใครกันที่จะต้องมาร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น
จุดเริ่มต้นของคำตอบนี้อาจจะต้องเริ่มต้นจากการรู้ว่า ‘ภาครัฐ’ ได้หายตัวไปจากวงจร
ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแรงงานและมีหน้าที่กำกับดูแลภาคธุรกิจ น่าแปลกที่เรากลับพบว่าภาครัฐเข้ามามีบทบาท
ในเรื่องนี้อย่างเลือนลาง ความไม่ชัดเจนของภาครัฐที่แสดงออกมาผ่านกฎหมายที่ล้าสมัยคือหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่สร้างเส้นทาง
แห่งความบิดเบี้ยวทั้งหลายนี้ขึ้นมาฉะนั้นเพื่อที่จะทำให้เส้นทางเหล่านี้กลับมาถูกต้อง ภาครัฐจำเป็นจะต้องกลับเข้ามาทำหน้าที่
และแสดงบทบาทที่ชัดเจนอีกครั้ง
แนวทางการแก้ไขปัญหานี้จึงไม่ใช่การหยุดใช้งานธุรกิจแพลตฟอร์มหรือจัดตั้งสหภาพไรเดอร์ แต่ต้องเป็นการที่ภาครัฐลงมือจัดการกับ
ความคลุมเครือที่เกิดขึ้นกับอาชีพนี้ เพราะถ้าหากภาครัฐยังคงปล่อยให้ความบิดเบี้ยวนี้ดำเนินต่อไป ในอนาคต (อันใกล้)
ภาครัฐอาจจะต้องรับมือกับศึกหนัก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องหลักประกันสุขภาพของไรเดอร์ที่จะถูกผลักภาระไปให้ระบบประกันสุขภาพ
ถ้วนหน้าของรัฐเป็นคนดูแล เนื่องจากไร้สวัสดิการประกันสังคมคอยรองรับ หรือจะเป็นความไม่แน่นอนของรายได้ซึ่งส่งผลให้ชีวิต
ของพวกเขาเต็มไปด้วยความไม่มั่นคง เมื่อชีวิตตัวเองยังไม่มั่นคง ใครกันจะกล้าฝันถึงการมีครอบครัว นี่ยังไม่นับรวมถึงปัญหาด้านจิตใจ
ที่จะมีแต่ความเปราะบางเนื่องจากพวกเขาไม่สามารถสัมผัสถึงความมั่นคงใดใดในชีวิตได้เลย แค่สามอย่างที่ว่ามานี้เกิดขึ้นพร้อมกัน
ก็เป็นโจทย์ที่ดูท่าภาครัฐจะต้องแก้จนคางเหลือง
ฉะนั้นก่อนที่วัน doomed day จะมาเยือน เส้นทางอาชีพไรเดอร์จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องและเป็นธรรม เพราะได้โปรดอย่าลืมว่า
อาชีพที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้มีชีวิตของคนหลายแสนคนแขวนไว้อยู่ อาชีพที่พวกเขาต่างหวังว่าจะเป็นอาชีพที่จะพาพวกเขา
ไปสู่อนาคตที่เขาฝันไว้ แต่ถ้าวันนี้เส้นทางที่เขาฝันไว้กลับเต็มไปด้วยความบิดเบี้ยว จะเป็นไปได้อย่างไรที่แรงงานไทยจะพบเจอกับปลายทางที่สวยงาม
อ้างอิง
อ้างอิง:
thairath.co.th
bbc.com
help.grab.com
prachachat.net
forbes.com
จากไรเดอร์ก้าวสู่เจ้าของธุรกิจฟรีแฟรนไชส์
ทำเงินผ่านแอพ
อัพเกรดจากไรเดอร์สู่เจ้าของธุรกิจอาหารขนมเครื่องดื่ม
[รวม] แอพหาเงินออนไลน์ 2020 ฟรี ได้จริง – ไม่ต้องลงทุน แจกเงินฟรี…
- โพสโซเชียลได้เงิน แอพหาเงินออนไลน์ TellScore.
- แจกเงินฟรี ทำแบบสอบถามได้เงิน (Milieu) /แอพดูโฆษณา (Neobux)
- งานเขียนออนไลน์ หาเงินออนไลน์ที่ Blockdit/TrueID.
- ถ่ายรูปได้เงินกับแอพหาเงินฟรีออนไลน์ เช่น Streetbees. …
- ถ่ายคลิปหาเงินออนไลน์ ใน Tiktok.
- เล่นเกมได้เงิน ไม่ต้องลงทุน …
- อาชีพเสริมเงินแสนจากเว็บหาเงิน
ไรเดอร์นิรนาม